มาตราตัวสะกด...ภาษาไทยเบื้องต้นง่าย ๆ ที่ควรรู้
การเรียนรู้มาตราตัวสะกดต่าง ๆ จะทำให้เราสามารถเขียนและอ่านคำไทยได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ซึ่งมาตราตัวสะกดของไทย คืออะไร และต้องใช้อย่างไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ มาตราตัวสะกด คือ กลุ่มพยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายคำหรือพยางค์ใน แม่ ก กา ทำให้เสียงของคำแตกต่างกันตามพยัญชนะที่นำมาประกอบ เช่น ตา เมื่อประสมกับ ล กลายเป็น ตาล, ชา เมื่อประสมกับ ม กลายเป็น ชาม เป็นต้น
มาตรา ก กา หรือ แม่ ก กา คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกด โดยอ่านออกเสียงเป็นสระ เช่น หู ตา ขา ลา กา ปลา เสือ โต๊ะ ตู้ ประตู ฯลฯ ทั้งนี้ แม่ ก กา เป็นหนึ่ง ในมาตราไทย แต่ไม่ถือว่าเป็นมาตราตัวสะกด เนื่องจากไม่มีพยัญชนะต่อท้าย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า มาตราตัวสะกด มี 8 มาตรา คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง กน
สำหรับการใช้มาตราตัวสะกด ทั้ง 8 มาตรา แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี 4 มาตรา ดังนี้
แม่กง พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ง เช่น กางเกง กระโปรง รองเท้า หนังสือ โรงเรียน ยางลบ เตียง พวงกุญแจ กล่องดินสอ ห่วงยาง ฯลฯ
มาตรา ก กา หรือ แม่ ก กา คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกด โดยอ่านออกเสียงเป็นสระ เช่น หู ตา ขา ลา กา ปลา เสือ โต๊ะ ตู้ ประตู ฯลฯ ทั้งนี้ แม่ ก กา เป็นหนึ่ง ในมาตราไทย แต่ไม่ถือว่าเป็นมาตราตัวสะกด เนื่องจากไม่มีพยัญชนะต่อท้าย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า มาตราตัวสะกด มี 8 มาตรา คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง กน
สำหรับการใช้มาตราตัวสะกด ทั้ง 8 มาตรา แบ่งได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี 4 มาตรา ดังนี้
แม่กง พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ง เช่น กางเกง กระโปรง รองเท้า หนังสือ โรงเรียน ยางลบ เตียง พวงกุญแจ กล่องดินสอ ห่วงยาง ฯลฯ
แม่กม พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ม เช่น ร่ม ส้อม พัดลม กระดุม แชมพู โฟมล้างหน้า สนามกีฬา เข็มกลัด โคมไฟ ไอศกรีม ฯลฯ
แม่เกย พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ย เช่น สร้อยคอ กระเป๋าสะพาย ทางม้าลาย น้อยหน่า พลอย นักมวย รอยเท้า ไฟฉาย ถ้วยกาแฟ ป้ายจราจร
แม่เกอว พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ว เช่น คอมพิวเตอร์ แก้วน้ำ มะนาว ไข่เจียว ก๋วยเตี๋ยว ทิวทัศน์ มะพร้าว ต้นข้าว ดวงดาว บ่าวสาว นิ้ว ฯลฯ
2. มาตราตัวสะกดไม่ตรงแม่ มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี 4 มาตรา คือ
แม่กน พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ น ญ ณ ร ล ฬ เช่น ช้อน กรรไกร บันได ยาสีฟัน โลชั่น ฟุตบอล การบ้าน ตู้เย็น ปฏิทิน เหรียญ แจกัน
แม่กก พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ก ข ค ฆ เช่น กระจก หมวก คุกกี้ ที่พัก ก้อนเมฆ ตุ๊กตา กระติกน้ำ เนคไท สติ๊กเกอร์ จิ๊กซอว์ สุนัข
แม่กด พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น กระดาษ สมุดโน้ต ไม้บรรทัด นิตยสาร ไม้กวาด คีย์บอร์ด เสื้อเชิ้ต เตารีด โทรทัศน์ โปสเตอร์ รถเมล์
แม่กบ พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ บ ป ภ พ ฟ เช่น โทรศัพท์ รูปถ่าย ไมโครเวฟ ลิปสติก ธูปเทียน กรอบรูป ทัพพี ตะเกียบ ตลับยา แท็บเล็ต
สำหรับข้อมูลมาตรตัวสะกดที่นำมาเสนอในครั้งนี้ น่าจะทำให้หลาย ๆ คน เข้าใจในหลักการสะกดคำมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วหลักการใช้ภาษาไทยไม่ได้ยากอย่างที่คิด หากเราเข้าใจในพื้นฐานเบื้องต้นก็จะสามารถสร้างสรรค์คำใหม่ขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย รวมถึงสามารถอ่านออกเสียงคำและข้อความต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้นด้วยค่ะ
แม่เกย พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ย เช่น สร้อยคอ กระเป๋าสะพาย ทางม้าลาย น้อยหน่า พลอย นักมวย รอยเท้า ไฟฉาย ถ้วยกาแฟ ป้ายจราจร
แม่เกอว พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ว เช่น คอมพิวเตอร์ แก้วน้ำ มะนาว ไข่เจียว ก๋วยเตี๋ยว ทิวทัศน์ มะพร้าว ต้นข้าว ดวงดาว บ่าวสาว นิ้ว ฯลฯ
2. มาตราตัวสะกดไม่ตรงแม่ มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี 4 มาตรา คือ
แม่กน พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ น ญ ณ ร ล ฬ เช่น ช้อน กรรไกร บันได ยาสีฟัน โลชั่น ฟุตบอล การบ้าน ตู้เย็น ปฏิทิน เหรียญ แจกัน
แม่กก พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ก ข ค ฆ เช่น กระจก หมวก คุกกี้ ที่พัก ก้อนเมฆ ตุ๊กตา กระติกน้ำ เนคไท สติ๊กเกอร์ จิ๊กซอว์ สุนัข
แม่กด พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น กระดาษ สมุดโน้ต ไม้บรรทัด นิตยสาร ไม้กวาด คีย์บอร์ด เสื้อเชิ้ต เตารีด โทรทัศน์ โปสเตอร์ รถเมล์
แม่กบ พยัญชนะที่เป็นตัวสะกดในมาตรานี้ คือ บ ป ภ พ ฟ เช่น โทรศัพท์ รูปถ่าย ไมโครเวฟ ลิปสติก ธูปเทียน กรอบรูป ทัพพี ตะเกียบ ตลับยา แท็บเล็ต
สำหรับข้อมูลมาตรตัวสะกดที่นำมาเสนอในครั้งนี้ น่าจะทำให้หลาย ๆ คน เข้าใจในหลักการสะกดคำมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วหลักการใช้ภาษาไทยไม่ได้ยากอย่างที่คิด หากเราเข้าใจในพื้นฐานเบื้องต้นก็จะสามารถสร้างสรรค์คำใหม่ขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย รวมถึงสามารถอ่านออกเสียงคำและข้อความต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้นด้วยค่ะ
อ้างอิง : http://education.kapook.com/view59111.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น