วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

สาระการเรียนรู้ภาษาไทย

มาตราตัวสะกด...ภาษาไทยเบื้องต้นง่าย ๆ ที่ควรรู้




 
การเรียนรู้มาตราตัวสะกดต่าง ๆ จะทำให้เราสามารถเขียนและอ่านคำไทยได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ซึ่งมาตราตัวสะกดของไทย คืออะไร และต้องใช้อย่างไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ มาตราตัวสะกด คือ กลุ่มพยัญชนะที่ประกอบอยู่ท้ายคำหรือพยางค์ใน แม่ ก กา ทำให้เสียงของคำแตกต่างกันตามพยัญชนะที่นำมาประกอบ เช่น ตา เมื่อประสมกับ ล กลายเป็น ตาล, ชา เมื่อประสมกับ ม กลายเป็น ชาม เป็นต้น

มาตรา ก กา หรือ แม่ ก กา คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะเป็นตัวสะกด โดยอ่านออกเสียงเป็นสระ เช่น หู ตา ขา ลา กา ปลา เสือ โต๊ะ ตู้ ประตู ฯลฯ ทั้งนี้ แม่ ก กา เป็นหนึ่ง ในมาตราไทย แต่ไม่ถือว่าเป็นมาตราตัวสะกด เนื่องจากไม่มีพยัญชนะต่อท้าย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า มาตราตัวสะกด มี 8 มาตรา คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง กน

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สุขศึกษาและพลศึกษา

ปัญหาสิ่งแวดล้อม

ปัญหามลพิษทางน้ำ

            เมื่อแม่น้ำลำคลองเกิดการเน่าเสีย ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมามีมากมาย ดังนี้ 
            1. เป็นอันตรายต่อสุขภาพส่วนบุคคล น้ำเสียเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และก่อให้เกิดโรคระบาดได้หลายชนิด เช่น โรคอหิวาต์ ไทฟอยด์ บิด โดยมีน้ำสกปรกเป็นพาหะนำโรค 
            2. เป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์ น้ำเสียเป็นปัญหาต่อการเกษตรเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อน้ำในแม่น้ำ ลำคลองเกิดการเน่าเสีย การเกษตรกรรมซึ่งต้องอาศัยน้ำเป็นหลักก็มีปัญหาในเรื่องการใช้น้ำ เพราะในน้ำเสียจะมีสารพิษสะสมอยู่ ทำให้เป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์ของประชาชนที่มีอาชีพเกษตรกร 
            3. เป็นปัญหาต่อการประมง เมื่อน้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสียหรือเสื่อมคุณภาพลง ก็จะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ อาจทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถแพร่พันธุ์ต่อไปได้ และที่สำคัญเมื่อมนุษย์นำสัตว์น้ำจากแหล่งน้ำที่เน่าเสียมาบริโภคก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ 
            4. เป็นปัญหาต่อการผลิตน้ำเพื่อการบริโภค การผลิตน้ำเพื่อการบริโภค เช่น น้ำประปา ก็จะนำน้ำจากแม่น้ำลำคลองขึ้นมาผ่านกระบวนการต่างๆ มากมายเพื่อให้ได้น้ำสะอาดจนสามาถบริโภคได้ แต่เมื่อน้ำในแหล่งน้ำเกิดการเน่าเสียก็จะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้น้ำสะอาดเพื่อการบริโภค